บทที่ 3 การบัญชีระบบสารสนเทศและกระบวนการทางธุรกิ


บทที่ 3 การบัญชีระบบสารสนเทศและกระบวนการทางธุรกิจ


กระบวนการทางธุรกิจ
          กระบวนการทางธุรกิจ (Business process) คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจโดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่าง ๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจหลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่ากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินนั้นใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ
บทบาทและขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจ     
             การดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณตั้งแต่ยุคที่เรายังไม่มีเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจยังเป็นเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อนเช่นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเพื่อให้ได้ของที่ต่างฝ่ายต่างพอใจแต่ในปัจจุบันกระบวนการทางธุรกิจถูกจัดทำให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้องโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องบังคับให้การทำธุรกิจดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควรเราจึงควรมีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้กระบวนการทางธุรกิจเริ่มจากการที่เจ้าของนำเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุนในธุรกิจ ถ้าเงินสดมีไม่เพียงพอ อาจต้องกู้ยืมเพิ่มจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ จากนั้นจึงเริ่มนำเงินสดไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ หรืออาจใช้วิธีเช่าแทนการซื้อก็ได้ เมื่อกิจการเริ่มดำเนินการ ลักษณะของการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การค้าขาย หรือการให้บริการ โดยจะมีรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามลักษณะของแต่ละกิจการเมื่อรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดกำไร แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จะเกิดผลขาดทุน ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจจะเกิดผลขาดทุน เมื่อดำเนินงานมาสักระยะหนึ่งธุรกิจจึงมีกำไร เมื่อมีผลกำไร ธุรกิจจะแบ่งปันคืนเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล กำไรส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป

การหมุนเวียนของเงินสดในกระบวนการทางธุรกิจ



ประเภทของธุรกิจที่พบเห็นโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของการดำเนินธุรกิจมี 3 ประเภท ได้แก่       
            1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าค่าสาธารณูปโภคและอื่น ๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่นโรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
             2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
             3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

วงจรบัญชี (Accounting Cycle)
              วงจรบัญชี หมายถึง ลำดับขั้นตอนการจัดทำบัญชี การบันทึกเอกสารรายการค้าลงในสมุดรายวัน และการสรุปผลรายงานทางการเงินแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี วัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน ทำให้กิจการได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแต่วงจรบัญชีหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฎจักรทางการบัญชี มีวิธีการจัดทำและบันทึกรายการอย่างไร
วงจรซื้อ
         เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา)
         1. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้ เดือน…../ลำดับที่…….
         2. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30)
         3. ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร ซื้อขนม เป็นต้น ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ
         4. ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า สามารถล่าช้าได้ 6 เดือน ถ้าได้รับในเดือนใด ให้นำมาจัดทำรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อเดือน…….
         5. เมื่อลงรายการภาษีซื้อแล้ว ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีเก็บเข้าแฟ้มเป็นหลักฐาน โดยเรียงตามลำดับที่ในรายงานภาษีซื้อ
         6. นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำใบตรวจรับพัสดุ
         7. นำใบตรวจรับพัสดุ มาบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ พอสิ้นเดือนจึงสรุปยอด
วงจรขาย
         เมื่อมีการขายสินค้า ต้องจัดทำใบกำกับภาษีขายขึ้น ต้องมีต้นฉบับ และสำเนา (ต้นฉบับ = 1+ สำเนา 5 )
        1. นำรายการขายสินค้ามาจัดทำใบกำกับภาษีขาย แล้วนำต้นฉบับใบกำกับภาษีขาย + สำเนา 1 ใบ ให้ลูกค้า
        2. นำสำเนาใบกำกับภาษีขายมาจัดทำรายงานภาษีขาย
        3. นำใบกำกับภาษีขายมาบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย สิ้นเดือนสรุปยอด
        4. นำใบกำกับภาษีขาย มาจัดทำบัญชีคุมสินค้าทางด้านรายจ่าย
        5. สิ้นเดือนรวมยอดต้นทุนสินค้าที่ขายในบัญชีคุมสินค้า บันทึกต้นทุนขายในสมุดรายวันทั่วไป



สมุดรายวันทั่วไป
             สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดบัญชีขั้นต้นหรือสมุดรายวันที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการ ถ้ากิจการนั้นไม่มีสมุดรายวันเฉพาะ แต่ถ้ากิจการนั้นมีการใช้สมุดรายวันเฉพาะ สมุดรายวันทั่วไปก็จะมีไว้เพื่อบันทึกรายการค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและไม่สามาถนำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้


จากรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไปข้างต้นจะสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของสมุดรายวันทั่วไป ได้ดังนี้
          1. จะต้องมีคำว่าสมุดรายวันทั่วไป (General Journal) อยู่หัวกระดาษตรงกลางเพื่อที่จะบอกว่าแบบฟอร์มที่จัดทำนี้คือสมุดรายวันทั่วไป
          2. จะต้องมีเลขที่หน้าของสมุดรายวันทั่วไปอยู่ตรงมุมบนขวามือของกระดาษเพื่อบอกว่าสมุดรายวันทั่วไปที่บันทึกอยู่นี้เป็นหน้าที่เท่าไร
          3. ช่องที่ 1 ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่แสดงวันที่ ของรายการค้าที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นวันที่ที่เรียงลำดับก่อนหลังของรายการค้าที่เกิดขึ้น ในการบันทึกรายการในช่องวันที่นั้น ให้บันทึกปีพ.ศ.ก่อน โดยบันทึกไว้อยู่ตรงกลาง ต่อมาบันทึกเดือน โดยบันทึกไว้ด้านหน้า แล้วต่อมาจึงบันทึกวันที่ หากวันต่อไปของรายการค้าที่จะต้องบันทึกบัญชีหากเป็นปีเดียวกัน เดือนเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบันทึก ปี พ.ศ. และเดือนใหม่อีก
         4. ช่องที่ 2 เป็นช่องรายการ ใช้บันทึกรายการบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิต รายการที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต และคำอธิบายรายการ โดยในการบันทึกรายการในช่องนี้ให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตก่อน โดยให้บันทึกทางด้านซ้ายของช่องให้ชิดเส้นซ้ายมือของช่อง หากรายการค้าใดที่มีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเดบิตให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต โดยเยื้องมาทางด้านขวามือเล็กน้อยประมาณหนึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง หากรายการค้าใดมีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเครดิตให้หมด ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีว่าบัญชีใดบันทึกทางด้านเดบิต และบัญชีใดบันทึกทางด้านเครดิตนั้น จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อหลักการบันทึกบัญชีคู่ จากนั้นให้เขียนคำอธิบายรายการเพื่ออธิบายว่าเกิดรายการค้าอะไรเกิดขึ้นจึงทำให้ต้องบันทึกบัญชีเช่นนั้น โดยการเขียนคำอธิบายรายการให้เขียนโดยชิดซ้ายติดกับเส้นทางด้านซ้ายของช่อง สุดท้ายให้ขีดเส้นใต้เพื่อแสดงการสิ้นสุดการบันทึกรายการค้านั้น ๆ ในการขีดเส้นใต้นี้ให้ขีดเส้นใต้เฉพาะช่องรายการเท่านั้น
         5. ช่องที่ 3 เป็นช่องเลขที่บัญชี ใช้บันทึกเลขที่บัญชีที่บันทึกไว้ในช่องรายการทั้งทางด้านเดบิต และเครดิต ซึ่งเรื่องเลขที่บัญชีนี้จะได้อธิบายให้ละเอียดในหัวข้อถัดไป
         6. ช่องที่ 4 เป็นช่องเดบิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเดบิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
         7. ช่องที่ 5 เป็นช่องเครดิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเครดิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
สมุดรายวันเฉพาะ
            สมุดรายวันเฉพาะ(Special Journal)คือ สมุดรายวันหรือสมุดบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
1. สมุดรายวันรับเงิน (Cash Received Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเท่านั้น เช่น การรับรายได้ การรับชำระหนี้ เป็นต้น
2. สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินเท่านั้น เช่น จ่ายค่าใช้จ่าย ซื้อสินทรัพย์ จ่ายเงินชำระหนี้ เป็นต้น
3. สมุดรายวันซื้อ ( Purchases Journal ) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าเป็น เงินเชื่อเท่านั้น
            4. สมุดรายวันขาย (Sales Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
            5. สมุดรายวันส่งคืนสินค้า (Purchases Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการส่งคืนสินค้าที่ซื้อมาเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
            6. สมุดรายวันรับคืนสินค้า (Sales Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger)
            สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นสมุดที่รวบรวมหรือคุมยอดของบัญชีแยกประเภททุกบัญชี ซึ่งใช้บันทึก การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) ต่อจากการบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไป ได้แก่ บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้า บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีอาคาร เป็นต้น บัญชีแยก ประเภทหนี้สิน เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ บัญชีเจ้าหนี้ อื่น ๆ เป็นต้น บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ เช่น บัญชีทุน บัญชีรายได้ (Income) บัญชีค่าใช้จ่าย (expense) และบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
          2. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทย่อยของบัญชีคุมยอด (Controlling Accounts) ในสมุดแยกประเภททั่วไป เช่น สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้รายตัว บัญชีเจ้าหนี้รายตัว ซึ่งยอดรวมของบัญชีแยกประเภท รายตัวทั้งหมดจะเท่ากับยอดรวมในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
รูปแบบของบัญชีแยกประเภท ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ
             1. แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit) ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)
             2. แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ
งบการเงิน (Financial Statement)
           งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
             1. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
             2.งบดุลหรืองบแสดงฐานะกานเงิน (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)
             3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owners equity)
            4.งบกระแสเงินสด (Cash Flow statement)
            5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
การจัดทำงบกำไรขาดทุน
          1. ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
              บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ”
              บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”
              บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
          2. เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
          3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
          4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
การจัดทำงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน
        1. ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
            บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
            บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
        2. เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
        3. เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด
         Statement of Changes in Owner's Equity งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของเป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้
         1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
         2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
         3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
                   · กำไรหรือขาดทุน
                   · แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
                   · รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Owner's Equity)
           งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้       
            1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
            2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
            3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
                   · กำไรหรือขาดทุน
                   · แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
                   · รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม
บทสรุป
คือกระบวนการทางธุรกิจนั้นจะเป็นขบวนการต่าง ๆ หรือขั้นตอนในทุก ๆ ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับธุรกิจนั้น ๆ โดยทั่ว ๆ ไปการดำเนินธุรกิจจะมีอยุ่ 3 ประเภท คือ
1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และ   อื่น ๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่าง ของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

บรรณานุกรม
aisacc.(2561). การบัญชีระบบสารสนเทศและกระบวนการทางธุรกิจ สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เข้าถึงได้จาก: https://aisacc.blogspot.com/2019/09/3.html
สมชาย จันทร์รักษ์ .(2561). กระบวนการทางธุรกิจ สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เข้าถึงได้จาก:https://sites.google.com/site/naysmchaycanthrraks/home/krabwnkar-thang-thurkic
isstep. (2558). วงจรบัญชี สืบค้นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เข้าถึงได้จาก: http://www.isstep.com/accounting-cycle/