บทที่
8 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน
หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้น
เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า
การดำเนินงานขององค์กรจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามคำจำกัดความของการควบคุมภายใน
ได้กล่าวถึงเรื่องวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานซึ่งอาจจำแนกวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
เป็น 3 ประเภท คือ
1.
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน คือ
วัตถุประสงค์พื้นฐานของการดำเนินงานในทุกองค์กร
โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ
และเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกัน ผลที่ได้รับจากกระบวนการนั้นต้องคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไป
จึงจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพ
2. ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน คือ
การจัดให้มีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหาร บุคลากรในองค์กร และบุคคลภายนอกในการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
3.
การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง คือ
การมุ่งเน้นให้กระบวนการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
เงื่อนไขตามสัญญา ข้อตกลง นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานขึ้นมานั้น
ผู้บริหารจะต้องกำหนดวิธีการทำงานให้ไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆ
ในองค์กรให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย การควบคุมต่างๆ เหล่านี้
ก็คือ การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือเรียกสั้นๆ ว่า
การควบคุมภายในนั่นเอง
จากที่กล่าวข้างต้น
จะเห็นว่าการควบคุมภายในเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
ดังนั้น การควบคุมภายในจึงไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกว่าองค์กรควรทำหรือไม่ควรทำ
แต่เป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องพิจารณาว่าทำอย่างไร
จึงจะทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
ทั้งในวันนี้และวันหน้าโปรดสังเกตว่า
การควบคุมภายในสามารถสร้างความมั่นใจต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในระดับที่สมเหตุสมผลเท่านั้น
สาเหตุที่ให้ความมั่นใจเต็ม 100% ไม่ได้
เพราะกระบวนการปฏิบัติงานบางอย่างนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนตัวในการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน
บางอย่างถ้าจะควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานให้เต็มที่
ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้
ก็เลยต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญที่สุด
การควบคุมภายในจะไม่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หากผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมภายใน
และพยายามจะละเลยขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ อยู่เสมอ
ดังนั้น
การควบคุมภายในจะช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ไม่ใช่ทำครั้งเดียวเรื่องเดียวเสร็จ
และจำเป็นต้องมีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลด้วย
ความเป็นมา
: การดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพและเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่างๆ
นั้น การมีระบบงาน ระบบโครงสร้าง
หรือวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและเอื้อต่อการทำงานเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบริหารงานให้ดีได้
การบริหารงานที่ดีจึงจำเป็นต้องทำให้เกิดระบบการประเมินผลการทำงานในทุกส่วนงานและทุกกิจกรรม
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานของทุกองค์กรในปัจจุบัน
การบริหารงานที่มีการควบคุมภายใน
หัวหน้างานและผู้รับผิดชอบขององค์กรจะต้องเข้าไปดำเนินการเพื่อประเมินความเสี่ยงและจัดให้มีกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงอย่างมีผลในเชิงประจักษ์
จึงมีความจำเป็นที่จะนำการควบคุมภายมาใช้ในงานหรือกิจกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
(อพวช.) มีนโยบายการทำงานที่มุ่งให้องค์กรการบริหารงานแนวใหม่
จึงจำเป็นจะต้องนำการควบคุมภายในเข้ามาบริหารงาน
ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
กำหนดให้การควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของงานการประเมินผลงานการบริหารของ อพวช.
อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากด้านการควบคุมภายใน ยังถือว่าเป็นการบริหารงานแนวใหม่เจ้าหน้าที่ อพวช.
จึงยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง
ดังนั้นการรายงานเชิงประจักษ์การประเมินตัวเองจึงต้องมีการชี้แนะการดำเนินงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทุกๆทุกกิจกรรม
การส่งเสริมให้การนำการควบคุมภายในไปใช้ในการดำเนินงาน
นอกจากการอบรม การรณรงค์ การสั่งการ อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องมี “
คู่มือการควบคุมภายใน ”
ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
(Operation
Objectives) ได้แก่
การปฏิบัติงานและการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย
การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยงาน
เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน
(Financial
Report Objectives) ได้แก่
การจัดทำรายงานทางการเงินที่ใช้ภายในและภายนอกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
เชื่อถือได้ และทันเวลา
เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
(Compliance
Objectives) ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงาน
รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย และวิธีการปฏิบัติงานที่หน่วยงานได้กำหนดขึ้น
เมื่อทำความเข้าใจคำจำกัดความของการควบคุมภายในแล้ว
ต่อไปขอกล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญของการควบคุมภายใน ซึ่งจำแนก เป็น 5
องค์ประกอบที่สำคัญ ตามแนวทางของ COSO ซึ่งเป็นแม่แบบสากลของการควบคุมภายใน
ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่
1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control
Environment)
องค์ประกอบที่
2 การประเมินความเสี่ยง (Risk
Assessment)
องค์ประกอบที่
3 กิจกรรมการควบคุม (Control
Activities)
องค์ประกอบที่
4 สารสนเทศและการสื่อสาร (Information
and Communication)
องค์ประกอบที่
5 การติดตามประเมินผล (Monitoring)
องค์ประกอบที่
1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)
หมายถึง
ปัจจัยต่างๆ
ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายในของบุคลากรทุกคนในองค์กร
โดยบุคลากรทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเอง มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
รวมถึงการยอมรับและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และวิธีการทำงานต่างๆ ที่องค์กรกำหนดไว้
สภาพแวดล้อมของการควบคุม
มีผลกระทบอย่างมากกับกระบวนการปฏิบัติงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กร
จึงเป็นรากฐานที่สำคัญขององค์ประกอบอื่นๆ ของการควบคุมภายใน
เพื่อสร้างระเบียบวินัยด้านการควบคุมภายในให้แก่ทุกคนในองค์กร
และจัดให้มีโครงสร้างของการควบคุมภายในที่เหมาะสม
ปัจจัยต่างๆ
ต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างให้มีสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดี
ผู้ประเมินควรประเมินว่าองค์กรของท่านให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้
มากน้อยเพียงใด
•
ความซื่อสัตย์และจริยธรรม ซึ่งอาจพิจารณาได้จากการกำหนดแนวทางปฏิบัติในเรื่องต่างๆ
ให้ชัดเจน แล้วแจ้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ
รวมไปถึงการกระทำตนเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งคำพูดและการกระทำ
•
รูปแบบและปรัชญาการทำงานของฝ่ายบริหาร โดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ
และประสบการณ์ของฝ่ายบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ
และความสนใจในองค์กรที่ตนเป็นผู้บริหาร
•
การจัดโครงสร้างองค์กรและสายการบังคับบัญชาให้เหมาะสมกับขนาดและลักษณะการดำเนินงาน
•
การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Description &
Job Specification) สำหรับทุกตำแหน่งงาน อย่างชัดเจน
องค์ประกอบที่
2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ความเสี่ยง
คือโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล
การสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความเสี่ยงเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกหรือภายในองค์กรก็ได้
โดยเฉพาะในการดำเนินงานปัจจุบัน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจ
กฎระเบียบต่างๆ ทำให้แต่ละองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น
ถ้าองค์กรสามารถบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
ก็จะช่วยให้สามารถเตรียมการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ทันท่วงที
ข้อควรพิจารณาในการประเมินความเสี่ยง
คือ ความเสี่ยงเป็นตัวถ่วงให้การดำเนินงานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ผู้ประเมินต้องพยายามเปลี่ยนจากวิกฤตที่องค์กรเผชิญอยู่ให้เป็นโอกาสโดยการเตรียมการให้พร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
แต่การเตรียมการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า การควบคุมภายในยิ่งมากยิ่งดี
การควบคุมภายในที่มากจนเกินไป อาจจะทำให้งานสะดุด แต่ถ้ามีน้อยจนเกินไป ก็จะทำให้งานไม่สำเร็จ
ดังนั้น จึงต้องกำหนดการควบคุมภายในให้พอเหมาะ โดยถือหลักการที่ว่ามีความเสี่ยงมาก
ควบคุมมาก มีความเสี่ยงน้อย ควบคุมน้อย
การประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลนั้น
ผู้ประเมินต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานอย่างชัดเจนก่อน หลังจากนั้น
จึงพิจารณาว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างในการทำงาน
แล้วจึงพิจารณาว่าความเสี่ยงเหล่านั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือไม่
และเมื่อเกิดความเสี่ยงนั้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด
หากผู้ประเมินพิจารณาแล้ว เห็นว่ายังคงมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้
จะต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนการควบคุมภายในให้เพียงพอและเหมาะสมต่อไป
องค์ประกอบที่
3 กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
กิจกรรมการควบคุมเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า
นโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับการควบคุมภายในกำหนดขึ้นนั้น
ได้มีการนำไปปฏิบัติตามภายในองค์กรอย่างทั่วถึง นอกจากนี้
กิจกรรมการควบคุมยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าองค์กรมีกิจกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ดังนั้น กิจกรรมการควบคุมควรกำหนดให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ประเมินได้
โดยมีข้อควรพิจารณาในการกำหนดกิจกรรมการควบคุม ดังต่อไปนี้
•
กิจกรรมการควบคุมควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานตามปกติ
•
กิจกรรมการควบคุมต้องสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
•
ค่าใช้จ่ายในการกำหนดให้กิจกรรมการควบคุมต้องไม่สูงกว่าผลเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
หากไม่กำหนดให้มีกิจกรรมการควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรส่วนใหญ่ คือ
การกำหนดกิจกรรมการควบคุมตามที่มีการปฏิบัติอยู่เดิม
โดยมิได้พิจารณาความมีประสิทธิภาพ และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการดำเนินงาน
และความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปขององค์กร
องค์ประกอบที่
4 สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
การควบคุมภายในที่ดีจะเกิดขึ้นได้
เมื่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานนั้นได้มีการบ่งชี้
รวบรวมและชี้แจงให้แก่บุคคลที่ควรทราบ
โดยผ่านทางรูปแบบและเวลาการสื่อสารที่เหมาะสมข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
การบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานนั้น
อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน การเงิน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ
โดยแหล่งข้อมูลอาจมาจากภายในหรือภายนอกองค์กร
องค์ประกอบในเรื่องสารสนเทศและการสื่อสาร
อาจพิจารณาประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
•
ข้อมูลเพียงพอ ถูกต้อง ภายใต้รูปแบบที่เหมาะสม และทันเวลา
เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ
•
การสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
จากผู้บริหารถึงพนักงานและในทางกลับกัน ระหว่างหน่วยงานหรือแผนก
ระหว่างองค์กรกับบุคคลภายนอกเช่น สื่อมวลชน ผู้ออกกฎระเบียบต่างๆ
•
การสื่อสารอย่างชัดเจนให้บุคลากรทราบถึงความสำคัญและความรับผิดชอบต่อการควบคุมภายใน
องค์ประกอบที่
5 การติดตามประเมินผล (Monitoring)
การควบคุมภายในทั้งหลายที่จัดให้มีขึ้นนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกลไกในการติดตามประเมินผล
เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติการควบคุมภายในนั้นอย่างสม่ำเสมอ
และการปฏิบัตินั้นยังมีความเหมาะสมกับลักษณะการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เพราะอย่าลืมว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ที่เกิดขึ้นอาจมีผลกระทบต่อความเสี่ยงในการดำเนินงาน
และความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจำเป็นต้องปรับปรุงการควบคุมภายในให้เหมาะสมด้วย
การติดตามผล
นั้นสามารถทำได้โดยรวมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานนั้นๆ เช่น
การที่ผู้บังคับบัญชาคอยติดตามถามไถ่ปัญหาในการทำงาน
ก็ถือว่าเป็นการติดตามผลอย่างหนึ่ง
การประเมินผล
คือ การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะหรือเป็นครั้งคราว เช่น
การตรวจสอบโดยหน่วยตรวจสอบภายใน ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลในองค์กรนั้นเอง
หรือการมอบหมายให้บุคคลภายนอกมาทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน
หากองค์กรมีหน่วยตรวจสอบภายใน
ก็ต้องส่งเสริมและพัฒนาหน่วยงานนี้ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริงๆ
ดังคำกล่าวในปัจจุบันที่ว่า ผู้ตรวจสอบภายในคือที่ปรึกษาอันมีค่ายิ่งต่อผู้บริหาร
วิชาชีพตรวจสอบภายในก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก พร้อมๆ
กับความสำคัญของการควบคุมภายใน ดังนั้น
ผู้บริหารจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาสองเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กัน
การประเมินการควบคุมภายในอีกลักษณะหนึ่งที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน
คือการสร้างความรับผิดชอบในการควบคุมภายใน ให้แก่ทุกคนที่เป็นเจ้าของงานนั้น
ถ้าสร้างความรับผิดชอบแบบนี้ขึ้นมาได้ ผู้บริหารก็จะบริหารงานได้อย่างเบาใจ
เพราะทุกคนจะสอดส่องดูแลอย่างสม่ำเสมอให้งานที่ตนต้องรับผิดชอบนั้น
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างจริงจัง การปฏิบัติแบบนี้เรียกว่า การประเมินการควบคุมด้วยตนเอง
(Control
Self Assessment)
สรุป
การควบคุมภายใน หมายถึง
กระบวนการที่ผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้น
เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า
การดำเนินงานขององค์กรจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามคำจำกัดความของการควบคุมภายใน
ได้กล่าวถึงเรื่องวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานซึ่งอาจจำแนกวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
เป็น 3 ประเภท คือ
1.
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน
2.
ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน
3.
การปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานขึ้นมานั้น
ผู้บริหารจะต้องกำหนดวิธีการทำงานให้ไปสู่วัตถุประสงค์นั้น
และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมการปฏิบัติงานต่าง ๆ
ในองค์กรให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย การควบคุมต่าง ๆ เหล่านี้
ก็คือ การควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือเรียกสั้นๆ ว่า
การควบคุมภายในนั่นเอง
องค์ประกอบที่สำคัญของการควบคุมภายใน
ซึ่งจำแนก เป็น 5 องค์ประกอบที่สำคัญ ตามแนวทางของ COSO ซึ่งเป็นแม่แบบสากลของการควบคุมภายใน ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่
1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control
Environment)
องค์ประกอบที่
2 การประเมินความเสี่ยง (Risk
Assessment)
องค์ประกอบที่
3 กิจกรรมการควบคุม (Control
Activities)
องค์ประกอบที่
4 สารสนเทศและการสื่อสาร (Information
and Communication)
องค์ประกอบที่
5 การติดตามประเมินผล (Monitoring)
จากที่กล่าวข้างต้น
จะเห็นว่าการควบคุมภายในเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
ดังนั้น การควบคุมภายในจึงไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกว่าองค์กรควรทำหรือไม่ควรทำ
แต่เป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องพิจารณาว่าทำอย่างไร
จึงจะทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
ทั้งในวันนี้และวันหน้าโปรดสังเกตว่า การควบคุมภายในสามารถสร้างความมั่นใจต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในระดับที่สมเหตุสมผลเท่านั้น
สาเหตุที่ให้ความมั่นใจเต็ม 100% ไม่ได้
เพราะกระบวนการปฏิบัติงานบางอย่างนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนตัวในการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน
บางอย่างถ้าจะควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานให้เต็มที่
ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้
ก็เลยต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญที่สุด
การควบคุมภายในจะไม่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หากผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมภายใน
และพยายามจะละเลยขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ อยู่เสมอ
ดังนั้น
การควบคุมภายในจะช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
จำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ไม่ใช่ทำครั้งเดียวเรื่องเดียวเสร็จ
และจำเป็นต้องมีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลด้วย
บรรณานุกรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ.(2563).การควบคุมภายใน.วันที่สืบค้น 27 มกราคม 2563,จาก http://www.nsm.or.th/nsm/about-us/nsminternalcontrol.html
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ.(2563).การควบคุมภายใน.วันที่สืบค้น 27 มกราคม 2563,จาก http://www.nsm.or.th/nsm/about-us/nsminternalcontrol.html