บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี และกระบวนการทางธุรกิจ


บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี และกระบวนการทางธุรกิจ
กระบวนการจัดการทรัพยากร (The Resource Management Process)  
ความหมายของการจัดการทรัพยากรบุคคล หมายถึง ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร มอบหมาย พัฒนาบุคคล และให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลผลิตหรือบริการขององค์กรเป็นสำคัญ
        ประโยชน์ของการจัดการทรัพยากรบุคคล
1. เปิดโอกาสให้คนมีงานทำ
2. องค์กรได้คนดีมีความสามารถเข้าร่วมงาน
3. บุคคลได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ
4. เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
5. ทำให้ประเทศชาติมีรายได้จากการเก็บภาษี
        บทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีต่อองค์กร มีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บริหารในระดับสูง บทบาทในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร การสร้างขวัญและกำลังใจ และบทบาทในฐานะผู้ควบคุม
        บทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีต่อสมาชิกองค์กร มีบทบาทในการวางแผนทรัพยากรบุคคล ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการจัดการทรัพยากรบุคคล มีบทบาทด้านการจัดการตำแหน่งให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก้สมาชิกขององค์กร และมีบทบาทในการธำรงรักษาบุคลกรที่ดีให้อยู่กับองค์กรได้ตลอดไป
        การจัดการทรัพยากรบุคคลโดยยึดหลักคุณธรรมมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. หลักความเสมอภาค
2. หลักความสามารถ
3. หลักความมั่นคง
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง
        การจัดการทรัพยากรบุคคลโดยยึดหลักอุปถัมภ์มีองค์ประกอบ เป็นการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ตรงกันข้ามกับหลักคุณธรรม โดยมุ่งเน้นการยึดเอาพวกพ้องเข้ามาช่วยทำงาน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้การทำงานมีความราบรื่น
        กระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคล
1. การวิเคราะห์งาน
2. การวางแผนกำลังคน
3. การสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้ง
4. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
5. การเลื่อนและย้ายตำแหน่ง
6. ผลประโยชน์ตอบแทน
7. การให้พ้นจากงาน
8. บำเหน็จบำนาญ
        ความหมายของการสรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้ง
            การสรรหา หมายถึง การหาแหล่งผลิตกำลังคน หรือการค้นหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ มีคุณวุฒิ ประสบการณ์และทักษะตามที่องค์กรต้องการ การสรรหาที่มีคุณภาพจะทำให้องค์กรมีโอกาสคัดเลือกคนที่ดีมีความเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์กรได้
            การคัดเลือก ภายหลังจากที่ทำการสรรหาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจทราบข่าวคราวเกี่ยวกับ  การสรรหาบุคคลแล้ว หน่วยงานจัดการทรัพยากรบุคคลจะต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง      ตรงกับความต้องการขององค์กรมากที่สุด โดยจะต้องเลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการคัดเลือกที่เหมาะสม
            การบรรจุและแต่งตั้ง คือ การมอบหมายงานให้บุคคลผู้นั้นปฏิบัติ ในการบรรจุและแต่งตั้งควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับงานตามคำกล่าวที่ว่า “Put  the right man in the right job
        ความหมายของการเลื่อนและการย้ายตำแหน่ง
            การเลื่อนตำแหน่ง คือ การแต่งตั้งให้บุคลากรไปดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับ    ที่สูงขึ้น มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเพิ่มมากขึ้น
            การย้ายตำแหน่ง คือ การแต่งตั้งให้บุคลากรไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่อาจต่างหน่วยงานหรือแผนก
            ความแตกต่างระหว่างบำเหน็จกับบำนาญ
                บำเหน็จ คือ เงินตอบแทนที่จัดให้เพียงครั้งเดียว เป็นเงินก้อน ที่ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งจะรับในครั้งเดียว
                บำนาญ คือ เงินตอบแทนที่จัดให้เป็นรายเดือน ตอบแทนให้จนกว่าบุคคลนั้นจะเสียชีวิต นิยมใช้ในหน่วยงานราชการ
The Production Process   กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต (Production process) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input), กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1.         ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด
2.         กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขึ้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่
§  รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน
§  สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า
§  การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง
§  การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร
§  จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ
3.     ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service)
การวางแผนทางการเงิน (The Financing Process)  
  การวางแผนทางการเงิน หมายถึง การกำหนดการใช้จ่ายเงินต่างๆ ให้สอนคล้องกับแผนงานที่จัดทำขึ้นและระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้ไปของเงินในกิจกรรมต่างๆการวางแผนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่
 1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือการบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
                2. การวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจ การวางแผนทางการเงินจำเป็นในการดำเนินงานธุรกิจโดยจะวางแผนล่วงหน้าต่างๆ
 หลักการวางแผนทางการเงิน
  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทำให้มีความจำเป็นต้องวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต หลักในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมีดังนี้
               1. การประเมินสถานการณ์       
                2. กำหนดเป้าหมาย
                3. การจัดทำแผนทางการเงิน     
               4. การนำแผนไปปฏิบัติ
  5. การวัดผลและการปรับปรุงแก้ไข
บุคคลที่เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ได้แก่
               1. รัฐบาล เป็นผู้จัดหาสินค้าหรือบริการสาธารณะ
 2. ธุรกิจ เป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งในการผลิตสินค้าก็ต้องการแรงงาน ที่ดิน และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 3. ผู้บริโภค เป็นผู้มีบทบาทในการวางแผนทางการเงินมาก คือการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค
  การจัดการทางการเงิน
               การจัดการทางการเงิน หมายถึง การวางแผนการจัดระเบียบและการควบคุมกำกับกิจกรรมทางการเงิน เช่น การจัดซื้อและการใช้ประโยชน์จากเงินทุน ซึ่งใช้หลักทั่วไปของทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
  ขอบเขตการดำเนินงาน
                1. การตัดสินใจลงทุน
                2. การตัดสินใจทางการเงิน
                3. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลตอบแทน
  หน้าที่ของการจัดการทางการเงิน
               1. การประมาณค่าของความต้องการของการลงทุน
               2. ความมุ่งมั่นในการลงทุน
                3. แหล่งที่มาของเงินทุน
               4. แผนการลงทุน
               5. การจัดการด้านกำไรส่วนเกินต่างๆ
                6. การควบคุมทางการเงิน
  งบการเงินและงบประมาณ
    รายได้บุคคล หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ครัวเรือนได้รับจากแหล่งต่างๆ ในรอบปีซึ่งอาจจะได้มาจากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน รายได้จากงานส่วนตัว โบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลที่ได้จากเงินออมและการลงทุนการจำหน่ายสินทรัพย์ และรายได้อื่นๆ
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล
               1. อายุ มีความสัมพันธ์ต่อการหารายได้ของบุคคล
                2. การศึกษา จะเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล
                3. อาชีพ การเลือกอาชีพมีความสัมพันธ์กับการศึกษาของบุคคล
4.คุณสมบัติเฉพาะตัว บุคคลแต่ละคนจะแตกต่างกันโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
  5. แหล่งรายได้ต่างๆ ของบุคคล 
งบการเงินส่วนบุคคล
                งบการเงินส่วนบุคคล เป็นงบสรุปผลการใช้จ่ายเงิน และช่วยวางแผนทางการเงินในอนาคตซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้รายจ่ายและบันทึกต่างๆ งบการเงินส่วนบุคคลที่นำมาใช้บันทึกรายการ มีดังนี้
1. งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล เป็นงบสรุปรายละเอียดรายได้และรายจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมา หรือเป็นรายงานที่แสดงที่มาของรายได้และที่ไปของรายจ่าย
2. งบแสดงฐานะการเงินส่วนบุคคล เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของบุคคล ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน จำนวนเท่าใด ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
               2.1 สินทรัพย์
               2.2 หนี้สิน
2.3 ส่วนของเจ้าของ
               3. การบันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องเรือน และเครื่องใช้ต่างๆการเก็บบันทึกรายการควรระบุชื่อทรัพย์สิน/วันที่ซื้อ/ร้านที่ซื้อและราคาที่ซื้อ
4. บันทึกรายการเสียภาษี การเก็บรวบรวมบันทึกรายการเสียภาษีไว้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ทราบถึงกำหนดของการชำระภาษี รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายได้ถูกต้องว่ารายการภาษีประเภทใดบ้างที่จะต้องชำระ
5. บันทึกหลักฐานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ โฉนดที่ดิน พิมพ์เขียว แบบบ้านและบันทึกรายจ่ายการต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารบ้านที่อยู่อาศัย
6. บันทึกหลักฐานการประกันภัย เมื่อบุคคลนั้นได้รับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินหรือชีวิตโดยที่บุคคลนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัย และเก็บรักษาไว้เป็นระบบที่ปลอดภัย บุคคลหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะสามารถนำหลักฐานไปอ้างสิทธิ์ในการรับสินไหมทดแทนได้ภายในกำหนดที่บริษัทรับประกัน
7. บันทึกหลักฐานการลงทุน เมื่อมีการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรรัฐบาลการบันทึกรายการต่างๆ จะเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
8. บันทึกหลักฐานสำคันอื่นๆ
งบประมาณส่วนบุคคล
งบประมาณ คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขและอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน
งบประมาณส่วนบุคคล หมายถึง การวางแผนประมาณรายได้รายจ่ายล่วงหน้า เพื่อจัดสรรเงินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
การจัดการเงินสดและสินทรัพย์สภาพคล่อง
การจัดการเงินสด คือ การบริหารที่เกี่ยวกับประสิทธิในการเก็บรวบรวมเงินสด การจ่ายเงินสดและการลงทุน
สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ในรูปของเงินสดและสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
เงินสดสำรอง หมายถึง เงินที่ได้เก็บออมไว้ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น เงินสดที่สำรองไว้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ถ้าไม่นำมาใช้ จึงต้องหาทางบริหารเงินสำรองให้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ
กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล หมายถึง การบริหารการเงินของบุคคลอย่างฉลาด ด้วยการนำหลักและวิธีการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการตัดสินในจนทำให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
Business Process in Special Industries   กระบวนการทางธุรกิจในอุตสาหกรรม


ERP สำหรับโรงงาน อุตสาหกรรมการผลิต
สวัสดีครับวันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องระบบ ERP สำหรับโรงงาน หรืออุตสาหกรรมการผลิต ว่าระบบ ERP นั้นเข้าไปช่วยอะไรบ้างในโรงงานการผลิตของคุณ โดยที่เราจะมาเริ่มต้นจากการศึกษาปัญหาที่พบจากการดำเนินธุรกิจในแบบดั้งเดิมหรือแบบ Manual ทั้งหมดกันก่อนครับ ซึ่งสามารถแตกเป็นประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้
ปัญหาที่มักพบในโรงงานหรือองค์กรของคุณ

1.ไม่ทราบว่าวันนี้ต้องผลิตอะไรก่อนหรือหลัง ไม่สามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญของงานได้
2.ไม่ทราบว่า ณ ปัจจุบันจำนวนวัตถุดิบหรือสินค้ามีเพียงพอต่อการผลิตหรือการส่งมอบ Order ของลูกค้าหรือไม่
3.ไม่ทราบว่าต้องใช้วัตถุดิบอะไร จำนวนเท่าไหร่ สำหรับ Order การผลิตแต่ละครั้ง
4.ไม่ทราบต้นทุนการผลิตแต่ละครั้ง ควบคุมและติดตามต้นทุนไม่ได้ ยิ่งทำยิ่งขาดทุน
5.ไม่สามารถรับรู้ถึงกำไรของแต่ละ Order ที่ผลิตส่งมอบให้ลูกค้า กำไรหรือขาดทุน
6.เกิดต้นทุนจมกับการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าโดยไม่จำเป็น ผลิตสินค้าไม่ทัน หรือสั่งซื้อวัตถุดิบผิดประเภทที่ต้องใช้ในการผลิต
7.เครื่องจักรถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง
แน่นอนว่าเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวผู้บริหารหลาย ๆ ท่านก็คงเริ่มมองหาระบบที่ช่วยจัดการกระบวนการผลิตหรือ MRP (Material Resource Planning) มาช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้การพิจารณาเลือกระบบ MRP มาใช้ในองค์กรเพียงอย่างเดียวนั้นมีข้อควรระวังไม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับแผนกอื่นหรือระบบที่เกี่ยวข้อง ตัวระบบมีความซับซ้อน ใช้งานยากอาจทำให้พนักงานไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร หรือ ไม่สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบสินค้าหรือกระบวนการทำงาน (Workflow) ขององค์กรได้ทำให้ต้องมีการปรับตัวค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลให้การนำระบบมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นคุณควรพิจารณาระบบ ERP สำหรับโรงงานที่มีความสามารถในการปรับแต่งและครอบคลุมทุกกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด
Terebinth Cloud ERP สำหรับโรงงาน อุตสาหกรรมการผลิต

Terebinth Cloud ERP คือระบบจัดการกระบวนทางธุรกิจและฐานข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรโดยรวม ที่สามารถรวบรวมฟังก์ชันการทำงานทุกส่วนของทุกแผนก หรือหน่วยงานขององค์กรเข้าไว้ด้วยกันภายในระบบเดียว ไม่ใช่เพียงแต่ฟังก์ชั่นของการผลิตเท่านั้น Terebinth Cloud ERP ช่วยให้การเชื่อมโยงของข้อมูลและการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Terebinth Cloud ERP พัฒนาขึ้นด้วยทีมผู้พัฒนาคนไทยทั้งหมดโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับโลกด้วยราคาที่เป็นมิตรกับธุรกิจไทย เพื่อธุรกิจไทยทุกประเภท
Manufacturing Flow

ซึงระบบ Terebinth Cloud ERP สามารถเข้าไปช่วยในการควบคุมและวางแผนการผลิตของคุณแบบครบวงจร เปลี่ยนเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆ และช่วยให้การดำเนินงานการผลิตมีประสิทธิภาพมากที่สุด Terebinth Cloud ERP จึงเป็น ERP สำหรับโรงงานการผลิต พร้อมปรับโครงสร้างการทำงานให้เหมาะกับรูปแบบองค์กรได้ดี

วางแผนการผลิต Production Plan
สามารถวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการผลิตได้อย่างเหมาะสม ทราบว่าปัจจุบันควรเริ่มผลิตสินค้าตัวไหน ใช้เครื่องจักรแต่ละตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างเนื่อง ลดปัญหาการส่งมอบสินค้าไม่ทันหรือผลิตสินค้าออกมาเยอะเกินความต้องการ
จัดสูตรการผลิต B.O.M. (Bill of Material)
ระบบช่วยคำนวนสูตรการผลิตได้อย่างแม่นยำว่าต้องใช้วัตถุดิบตัวไหนและจำนวนเท่าไหร่สำหรับสินค้าในแต่ละรอบการผลิต สามารถตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงเหลือได้แบบ Real-Time ว่ามีปริมาณเพียงพอสำหรับการผลิตหรือไม่ ป้องกันการความผิดพลาดจากการคำนวนสูตรการผลิต พร้อมทั้งสามารถสร้างสูตรการผลิตได้ไม่จำกัดชั้น (Multi-Level B.O.M.)
คำนวนและควบคุมต้นทุน Cost Control
สามารถติดตามและควบคุมต้นทุนการผลิต ค่าแรงงาน ค่าไฟ การสูญเสีย รวมถึงค่าเสื่อมต่างๆ ได้ตลอดสายการผลิต ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงกำไรขาดทุนหรือจุดคุ้มทุนสำหรับรอบการผลิตแต่ละครั้งได้ทันที และสามารถจัดทำรายงานต้นทุนการผลิตได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ป้องกันต้นทุนรั่วไหลด้วยกระบวนการทำงานที่มีความรัดกุมมากขึ้น สามารถคำนวนต้นทุนการผลิตได้ละเอียดถึงต่อหน่วย
ควบคุมคลังสินค้า Inventory Control
รองรับการแยกประเภทของ Inventory แต่ละประเภทไมว่าจะเป็น Raw Material (RM) Work in Process (WIP) หรือ Finish Good (FG) รองรับระบบคลังสินค้าได้หลายคลัง ระบบสามารถแจ้งเตือนให้ทราบเมื่อมีวัตถุดิบหรือสินค้าตัวใดในคลังเหลือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นช่วยให้พนักงานสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้ถูกต้องหรือจัดตารางการผลิตได้อย่างเหมาะสม สามารถแก้ไขปัญหาต้นทุนจมจากการสั่งซื้อวัตถุดิบผิดประเภทหรือในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ระบบ ERP ช่วยให้การทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานในองค์กรมีความไหลลื่น (Streamline process) มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการใช้ข้อมูลร่วมกันในองค์กรและกระบวนการทำงานทั้งหมดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการทำงานและวิธีออกแบบวางระบบ ERP ให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจคุณ

นอกจากนี้ระบบ Terebinth Cloud ERP ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจคุณได้ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภทไม่ใช่เพียงแต่งาน Manufacturing แต่ยังครอบคลุมไปถึงงานทุกส่วนขององค์กรไม่ว่าจะเป็น CRM, Accounting, Finance, HRM, Inventory, Project Management หรือ Features สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ธุรกิจพึงจะมีสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันภายใน Platform เดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ
Monitoring Business Processes   การตรวจสอบกระบวนการทางธุรกิจ
องค์ประกอบสำคัญของกระบวนงานที่ต้องกำหนด คือ
2.1 วัตถุประสงค์ของกระบวนงาน
- เพื่อให้ลูกค้าจองพื้นที่เช่าได้
- เพื่อบันทึกและตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า
- เพื่อชำระค่าบริการได้
- เพื่อความสะดวกรวดเร็วของลูกค้า
2.2 ผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
- เจ้าของกิจการ สัญญาเช่า รายงานการชำระ
- ฝ่ายบัญชี รับชำระเงิน จัดทำสัญญาเช่า จัดทำรายงานรับชำระ จัดทำใบเสร็จรับเงิน
- ฝ่ายบริการ รับบริการ ตรวจสอบบริการ บันทึกการจอง ทำสัญญาเช่า
2.3 เงื่อนไขที่ทำให้เริ่มต้นทำกระบวนงาน
- กระบวนงานการเช่า
ลูกค้าติดต่อทำการเช่าพื้นที่ พนักงานจะทำการตรวจสอบพื้นที่ว่าง บันทึกการเช่า ดังนี้
- กระบวนงานการชำระเงิน
หลังจากลูกค้าได้ทำการเช่าพื้น พนักงานจะรับชำระเงินดังนี้
-  แบบรายวัน
พนักงานจะทำการเก็บเงินสดหลังจากการเช่าทันที
- แบบรายเดือน
พนักงานจะทำการทำสัญญาเก็บมัดจำ ล่วงหน้า 3 เดือนหลังจากนั้น
ชำระเงินค่าเช่าพื้นที่ 4500 ต่อเดือน ไม่เกินทุกวันที่ 5 ของต้นเดือน หากชำระเกินกำหนดพนักงานจะเก็บเพิ่มวันละ 50 บาท แต่ถ้าหากทำผิดสัญญาใดๆสัญญาจะสิ้นสุดทันทีและผู้เช่าจะต้องขนย้ายของออกจากสถานที่เช่าภายใน 7 วัน
2.4 กิจกรรมต่างๆที่ต้องทำ

รูปที่ 2 Business Process Model กระบวนการเช่าพื้นที่ขายสินค้า
อธิบายกกระบวนการเช่าพื้นที่ขายสินค้า
แบบรายวัน
- เมื่อลูกค้าต้องการเช่าพื้นที่แบบรายวัน ทางพนักงานจะตรวจสอบพื้นที่ว่าง และให้คำแนะนำกับลูกค้า เมื่อลูกค้าได้เลือกพื้นที่ที่ต้องการแล้ว พนักงานจะทำการบันทึกการจองพื้นที่ ลูกค้าจะต้องมาชำระเงินที่ฝ่ายบัญชี เมื่อลูกค้าชำระเงินเสร็จเรียบร้อย พนักงานฝ่ายบัญชีจะจัดทำใบเสร็จรับเงินและจะออกใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า จากนั้นพนักงานฝ่ายบัญชีจะจัดทำรายงานการชำระเงินและส่งรายงานการชำระเงินให้กับเจ้าของกิจการ
แบบรายเดือน
- เมื่อลูกค้าต้องการเช่าพื้นที่แบบรายเดือน ทางพนักงานจะตรวจสอบพื้นที่ว่าง หากมีพื้นที่ว่างจะแนะนำพื้นที่นั้นให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าเลือกพื้นที่ที่ต้องการเช่าแล้ว พนักงานจะทำสัญญาเช่า เมื่อลูกค้าอ่านสัญญาเช่าเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจำต้องทำการชำระเงินตามสัญญาเช่าคือเก็บมัดจำล่วงหน้า 3 เดือน เมื่อลูกค้าชำระเงินตามสัญญาแล้วลูกค้าจะต้องเซ็นใบสัญญาเพื่อยอมรับเงื่อนไขตามใบสัญญา พนักงานฝ่ายบัญชีจะจัดทำสัญญาเช่าและออกใบสัญญาเช่าให้กับลูกค้า จากนั้นจะส่งรายงานสัญญาเช่าให้กับเจ้าของกิจการ
2.5 อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำกิจกรรม
- คอมพิวเตอร์
- เครื่องพิมพ์
2.6 ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำกระบวนงาน
- ใบจอง
- ใบเสร็จรับเงิน
- สัญญาเช่า
- รายงานการชำระเงิน
2.7 เงื่อนไขที่ระบุว่ากระบวนงานสำเร็จ
- กระบวนงานการเช่า
- แบบรายวัน ลูกค้าได้รับบันทึกการเช่า
- แบบรายเดือน ลูกค้าได้รับการทำสัญญาเช่า
-กระบวนการชำระเงิน
- แบบรายวัน ลูกค้าได้รับใบเสร็จรับเงิน
- แบบรายเดือน  ลูกค้าได้รับสัญญาเช่า
2.8 ตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินกระบวนงานว่ามีประสิทธิภาพ
- จำนวนผู้เช่าในแต่ละเดือน
               - ใบเสร็จรับเงิน
 - สัญญาเช่า
 - รายงานการชำระเงิน
สรุป
กระบวนการทางธุรกิจ  คือ  ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่างๆแล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิวากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินมาใช้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป
บรรณานุกรม
วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา (2563)  การจัดการทรัพยากรบุคคล.  สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563, เว็บไซร์ https://sites.google.com/site/hlakkarcadkar32001003/hnwy-thi-7-kar-cadkar-thraphyakr-bukhkhl
BY LOGISTICAFE (2562)   กระบวนการผลิต (production process) คืออะไร ?.   สืบค้นเมื่อวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2563, เว็บไซร์ https://www.logisticafe.com/2009/11/production-process/
Mrs Smith's Classroom (2563) การเป็นผู้ประกอบการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563, เว็บไซร์https://sites.google.com/site/natpatai24456/hnwy-thi5-kar-cadha-laea-kar-wangphaen-thangkar-ngein
PITCHAYUT  WANGSUKIT (2561)   ERP  สำหรับโรงงาน อุตสาหกรรมการผลิ. สืบค้นเมื่อที่ 1 กุมภาพันธ์  2563,  เว็บไซร์ https://www.tereb.in.th/erp/erp-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พนิดา   ตันศิริ (257) บทที่ 2 กระบวนการทางธุรกิจ. สืบค้นมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563, เว็บไซร์https://sites.google.com/a/bumail.net/bc433eiei/home/bthna/krabwnkar-thang-thurkic