บทที่ 7 อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ จริยธรรมและความเป็นส่วนตัว
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
(Computer Crime)
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ได้มีผู้นิยามให้ความหมายดังนี้
1. การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย
และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2. การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ
ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
1. Novice อาชญากรมือใหม่หรือมือสมัครเล่น
เป็นพวกที่อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะไม่ใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย
2. Darnged person อาชญากรพวกจิตวิปริต เป็นพวกผิดปกติ มีลักษณะนิสัยที่ชอบความรุนแรง
3. Organized Crime อาชญากรที่ร่วมมือกันกระทำความผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ ๆ
4.
Career
Criminal อาชญากรมืออาชีพ
5. Com Artist อาชญากรหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์
6. Dreamer อาชญากรพวกบ้าลัทธิ
จะกระทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง
7. แคร็กเกอร์ Cracker
คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย
cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ
จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์
หรืออย่างน้อยทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ chacker
มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ
8. แฮกเกอร์ Hacker
หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซ้อนของการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใดๆ
ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ
รักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้
9. อาชญากรในรูปแบบเดิม ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
เช่น พยายามขโมยบัตร ATM และรหัสบัตรของผู้อื่น
รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันทั่วโลก
ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ 9 ประเภท
(ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2.
อาชญากรรมนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความรับผิดของตนเอง
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ปลอมแปลง
เลียนแบบระบบซอฟต์แวร์ โดยมิชอบ
4. ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
5. ไปก่อกวน ระบายสาธารณูปโภค เช่น
ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ ระบบการจราจร
6. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง
ลามกอนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
7.
หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8.
แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ
9.
ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินในบัญชีผู้อื่น เข้าบัญชีตัวเอง
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ
1.
การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่าง ๆ
2.
การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูล
3.
เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ (Operating System)
4.
เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด
การละเมิด คือ การกระทำใด ๆ
ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคล
อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น อาจเป็นการกระทำของตนเอง
การกระทำของบุคคลอื่น หรือความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองดูแล
ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน
หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ ในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี
องค์ประกอบของการกระทำที่เป็นการละเมิด
กล่าวคือ
1.กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
2.กระทำโดยผิดกฎหมาย
3.การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
4.ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น
จริยธรรมทางด้านคอมพิวเตอร์
จริยธรรม
เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับหลักในการประพฤติปฏิบัติตนของมนุษย์
ที่มุ่งเน้นแต่การทำดี คิดดี ซึ่งทางด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้ว
จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนควรจะตระหนักถึงตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้มีการใช้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิด
อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นได้
1. จริยธรรมและกฎหมาย (Ethics and Law)
ข้อกำหนดในการใช้คอมพิวเตอร์นั้นถูกกำหนดกฎเกณฑ์และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลไว้ด้วย
2 วิธี คือ กำหนดด้วยจริยธรรมและกำหนดด้วยกฎหมาย ซึ่งทั้ง 2 วิธีการนี้มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ
การสร้างความเป็นระเบียบและความเรียบร้อย
รวมทั้งคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในระบบสารสนเทศ
แต่ทั้งจริยธรรมและกฎหมายนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในหลายประเด็นซึ่งเกิดเป็นปัญหาขึ้น
จริยธรรมอาจจะครอบคลุม หรือไม่ครอบคลุมโดยกฎหมายก็ได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความแตกต่างระหว่างกฎหมายและจริยธรรม
1) หลักการพื้นฐาน
จริยธรรม :
ไม่มีหลักการตายตัว และขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของบุคคลในสังคม
กฎหมาย : เป็นหลักและกฎเกณฑ์ตายตัว
เปลี่ยนแปลงได้ยาก มีความซับซ้อน
2) ผู้ตัดสินความผิด
จริยธรรม :
บุคคลผู้กระทำ
กฎหมาย :
การตัดสินเป็นไปตามกระบวนการที่รัฐบาลกำหนดขึ้น
3) บทลงโทษ
จริยธรรม :
การวิพากษ์วิจารณ์ หรือถูกรังเกียจจากผู้คนในสังคม
กฎหมาย : ปรับ
หรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ
4) การบังคับใช้
จริยธรรม :
ขึ้นอยู่กับสังคมนั้น
กฎหมาย :
ขึ้นอยู่กับสังคมนั้น
2. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางด้านคอมพิวเตอร์
ในโลกนี้มีหลักจริยธรรมและหลักกฎหมายที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนของมนุษย์อยู่มากมาย
แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรมและประเพณีของประเทศนั้น ๆ แต่สำหรับในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาในประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเหล่านี้เข้ามาใช้งาน
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในทางจริยธรรมประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และการเข้าถึง (Access)
3. สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)
ระบบสารสนเทศอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
2 ด้านด้วยกัน คือ ด้านกายภาพ (Physical
Privacy) และด้านสารสนเทศ (Information Privacy)
1) สิทธิส่วนบุคคลทางด้านกายภาพ
(Physical Privacy) หมายถึง สิทธิในสถานที่ เวลา
และสินทรัพย์ที่บุคคลพึงมี
เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกก้าวก่ายหรือถูกรบกวนจากบุคคลอื่น จากการพัฒนาความสามารถให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้ผู้ใช้มีช่องทางที่จะรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลผู้อื่นได้สะดวกขึ้น เช่น
การส่งจดหมายขยะ (Junk Mail)
การส่งจดหมายเวียนหรือที่เรียกว่า “Spam Mail” เป็นต้น
ดังนั้นผู้ใช้งานในระบบสารสนเทศต่าง ๆ จึงควรตระหนักถึงข้อนี้ด้วย
เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนและรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลผู้อื่นจนเกินไปซึ่งนอกจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้ว
ยังมีการใช้อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อรบกวนบุคคลอื่นอีกด้วย
2) สิทธิส่วนบุคคลทางด้านสารสนเทศ
(Information Privacy) หมายถึง
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต
เลขที่บัญชี เป็นต้น ที่บุคคลอื่นจะไม่สามารถนำไปเปิดเผยได้หากไม่ได้รับอนุญาต
ปัจจุบันหน่วยงานราชการหรือเอกชนได้มีการจัดเก็บข้อมูลของประชาชนหรือลูกค้าบางส่วนไว้ในฐานข้อมูล
เช่น หน่วยงานทะเบียนราษฎร์ หรือบริษัทให้สินเชื่อ บัตรเครดิต เป็นต้น
ซึ่งข้อมูลที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับสิทธิ์ในการจัดเก็บไว้นั้น หากมองโดยภาพรวมแล้ว
จำทำให้ทราบถึงสถานะความเป็นอยู่ของลูกค้าหรือประชาชนได้
ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะทำให้การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลมีความปลอดภัยเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม
แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ทำให้ผู้ใช้บางคนที่อยู่ในหน่วยงานที่ประชาชนหรือลูกค้าให้ความไว้วางใจ
ลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลเหล่านั้นในฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
ทั้งนี้เพื่อนำไปเผยแพร่ในทางอื่นอันไม่สมควร จากการกระทำดังกล่าวทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
และต้องการให้มีการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลทางด้านสารสนเทศเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น
4. ความถูกต้อง (Accuracy)
ความถูกต้องของข้อมูลและสารสนเทศที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศต่าง
ๆ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ซึ่งนอกจากข้อมูลและสารสนเทศนั้นจะต้องมีความถูกต้องแล้ว
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอสารสนเทศต่าง ๆ
ยังจะต้องนำเสนอสารสนเทศนั้นโดยไม่ผิดเพี้ยนหรือไม่มีการบิดเบือนให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดได้
ทั้งนี้
หากสารสนเทศเกี่ยวกับบุคคลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลมีความผิดพลาดอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้นได้
เช่น ข้อมูลรายได้ประจำปีของลูกค้าจาก 20,000
บาท แต่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเป็น 2,000 บาท
และเมื่อนำมาอนุมัติสินเชื่อ
ก็จะทำให้ลูกค้าดังกล่าวไม่ได้รับการพิจารณาและเสียโอกาสไปในที่สุด
5. กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights)
ในระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการค้านั้น
จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองในความเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในฐานะที่เป็น
“ทรัพย์สินทางปัญญา” ของผู้ผลิต
ทั้งนี้เนื่องจากในการผลิตต้องใช้เงินลงทุนและกำลังคนเป็นจำนวนมาก
หากซอฟแวร์หรือแม้กระทั่งเครื่องหมายการค้าถูกลักลอบทำสำเนา
ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของผู้ทำการผลิตมากมายมหาศาล
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1) ลิขสิทธิ์ (Copyrights)
ลิขสิทธิ์เป็นการให้สิทธิ์แก่ผู้ผลิตหรือผู้ประดิษฐ์แต่เพียงผู้เดียวที่จะสามารถทำการจำลอง
คัดลอก โฆษณา หรือขายสิ่งที่สร้าง
สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางด้านซอฟแวร์ ซึ่งจะเป็นการคัดลอกหรือผลิตซอฟแวร์ซ้ำกับที่จดลิขสิทธิ์แล้ว
โดยการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์จะถือเป็นการกระทำผิดทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ
2) เครื่องหมายทางการค้า
(Trademark)
เครื่องหมายทางการค้า
คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
3) สิทธิบัตร (Patent)
สิทธิบัตร หมายถึง
สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร เช่น
การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
6. จรรยาบรรณในการใช้งานคอมพิวเตอร์
จรรยาบรรณ
หมายถึง
ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก
เช่น จรรยาบรรณของแพทย์ ครู เป็นต้น
จรรยาบรรณในการใช้คอมพิวเตอร์
มีดังนี้
1.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น
3.จะต้องไม่ทำการสอดแนม แก้ไข
หรือเปิดดูไฟล์เอกสารของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล ข่าวสาร
5.จะต้องไม่ใช้ข้อมูลสร้างหลัดฐานเท็จ
6.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์
7.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.จะต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
9.จะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่จะตามมาจากการกระทำนั้น
10.จะต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาท
ความเป็นส่วนตัว
(Information
Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น
สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ
ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.1.การ
เข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์
รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
1.2.การ
ใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล
ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
1.3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ
เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
1.4.การ
รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น
หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต
และที่อยู่อีเมล์
สรุป
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการก่ออาชญากรรมและกระทำความผิดนั้น
เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย
สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต)
อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง
คืออาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้
มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำการใด ๆ
เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย
และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทนและการกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
Tiktucksiriporn. (2555).อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์.วันที่สืบค้น
27 มกราคม 2563,จาก https://sites.google.com/site/tiktucksiriporn/s-1
ธัญญารัตน์ ทิพย์สิงห์.
(2551).จริยธรรมทางด้านคอมพิวเตอร์.วันที่สืบค้น 27 มกราคม 2563,จาก https://sites.google.com/site/smilevariety244/criythrrm-thang-dan-khxmphiwtexr
ธมลวรรณ
ใหมคง. (2546).ความเป็นส่วนตัว.วันที่สืบค้น 27 มกราคม 2563,จาก
https://sites.google.com/site/apple581031018/1-khwam-pen-swn-taw-information-privacy